โครงสร้างของScale Major

หลายท่านอาจจะงงว่า รู้โครงสร้างแล้ว แต่จะสร้าง Scale Major อันอื่นได้อย่างไรมาดูกันครับ วิธีก็คือ
แบ่ง C Major Scale เป็น 2 ส่วน(เรียกว่า tetracord 1 และ 2)นะครับดังนี้
ส่วนที่ 1= C D EF =tetracord 1
ส่วนที่ 2= G A BC =tetracord 2
ถ้าสังเกตุดูดีจะเห็นว่า ระยะห่างของ note ในส่วน 1 จะเท่ากับส่วน 2 เลยคือ w w h
มัน balance กันมาก จนเกิดเป็นสูตรขึ้นมานะครับ ก็คือ เมื่อเราต้องการจะสร้าง scale อีก scale ขึ้นมาใหม่
ให้เรานำ note ตัวแรก ของ tetracord 2 มาเป็นตัวตั้ง แล้วเรียง จาก root ถึง root ก็จะได้ดังนี้นะครับ G A BC D EF G
เอาละคราวนี้เราได้ note ครบ root ถึง root แล้ว ต่อครับ ก็สร้าง tetracord 2ส่วนเหมือนเดิมจะเป็นดังนี้ครับ
ส่วนที่ 1= G A BC =tetracord 1
ส่วนที่ 2= D EF G=tetracord 2
ถ้าสังเกตุดูดีๆจะเห็นอะไรทะแม่งๆขึ้นมาก็คือ ระยะห่างส่วน 1 กับ 2 ไม่เท่ากัน ตอนนี้มันเป็น
ส่วนที่ 1= w w h
แต่ ส่วนที่ 2= w h w
ตอนต้นผมอธิบายแล้วว่ามันต้องเหมือนกันถึงจะเป็นโครงสร้าง Major Scale ที่ถูกต้อง
ดัง นั้นเราต้องแก้ตัวใดตัวหนึ่งแน่นอนเพื่อถูกโครงสร้าง มาดูกัน ในส่วน 1 นั้นถูกแล้ว w w h แต่ 2 ผิดสังเกตว่าตอนนี้เป็น w h w อยู่
ดังนั้นเรา ต้องทำให้มันเป็น w w h ตาม form โอเคมาดูกัน เราก็นำเครื่องหมาย #(sharp=ขึ้นครึ่งเสียง) ไปใส่ที่ตัว F ในส่วนที่ 2 ดังนี้
D E F#G เพียงเท่านี้ ก็จะกลายเป็นระยะห่างที่ถูกต้องแล้วนะครับ ดังนี้
ส่วนที่ 1= G A BC =tetracord 1
ส่วนที่ 2= D E F#G=tetracord 2
ดังนั้น Scale G Major จึงติด 1# คือ F# ก็จะเป็น G A BC D E F#G ง่ายไหมครับที่มาและวิธีการ
ถ้าอยากจะสร้าง scale ต่อๆไปอีก ก็แบ่งเป็น 2 ส่วนจาก G Major Scale ต่อไป ดังนี้แบ่งก่อนได้
ส่วนที่ 1= G A BC =tetracord 1
ส่วนที่ 2= D E F#G=tetracord 2
แล้วนำตัวแรกส่วนที่ 2 ไปตั้งใหม่ ได้
ส่วนที่ 1= D E F#G
ส่วนที่ 2= A BC D
วิเคราะห์ ดูว่าเป็น w w h หรือเปล่า เห็นว่าส่วน 2 ผิดดันเป็น w h w เราก็ดันตัว C ให้สูงขึ้นครึ่งเสียงโดยการใส่เครื่องหมาย # เข้าไปเท่านี้ล่ะครับ ได้
ส่วนที่ 1= D E F#G
ส่วนที่ 2= A B C#D
ดัง นั้นScale D Major มี note ดังต่อไปนี้นะครับ D E F#G A B C#D ติด2#นั่นเอง เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ก็ลองไปทำต่อดูให้ครบ 7 sharp นะครับ
ผมให้ไป 2 แล้ว สงสัยถามได้ที่ เป๋า peaceful_70@msn.com ขอให้ทุกคนสนุกกับสิ่งที่ผมให้นะครับ ผิดพลาด ประการใดขออภัยด้วยครับ ไว้เจอกันใหม่ครับ สวัสดี

คอร์ดพื้นฐาน

มาว่ากันถึงเรื่องคอร์ดครับ คอร์ดพื้นฐานมีอยู่ 4 ชนิด ดังนี้ครับ
1.Major
2.minor
3.Dim
4.Aug
เอกลักษณ์ของเสียงก็ต่างกันดังนี้ครับ อันนี้ตามที่ผมวิเคราะห์นะครับ
Major จะสดใสครับ minor เศร้า dim น่ากลัว วังเวง Aug เต็มไปด้วยคำถาม สงสัย ประมาณนี้ล่ะนะครับ
มาว่ากันต่อถึงโครงสร้างมันดีกว่านะครับ ดังนี้
Major= 1 3 5
minor= 1 b3 5
dim = 1 b3 b5
Aug = 1 3 #5
* b=ลดลงมาครึ่งเสียง เรียกว่า flat
#=เพิ่มขึ้นครึ่งเสียง เรียกว่า sharp
เลข 1 35 นั้นคือลำดับเลขที่นับจาก scale นะครับ เช่นถ้าเราอยากสร้าง chord C
ก็ไล่ scale C major ก่อน คือ C D E F G A B C ขออธิบายเสริมว่าตัวอักษรพวกนี้คืออะไรนะครับ
C=โด D=เร E=มี F=ฟา G= ซอล A=ลา B=ที
ต่อนะครับ พอไล่ scale C major ได้แล้ว เราก็นำตัวโน๊ตใน scale ออกมา ถ้าอยากได้คอร์ด C Major ก็
ตาม progression เลยคือ 1 3 5 เอาล่ะก็มาดูว่าตัว 1 3 5 คือตัวอะไร
ก็จะได้เป็น C E G เท่านี้เองครับการสร้างคอร์ด ต่อมาคอร์ด C minor เช่นกันดู Progression ก่อน คือ 1 b3 5 ก็จะได้เป็น C Eb G
ต่อมาคอร์ด C dim เช่นกันดู Progression ก่อน คือ 1 b3 b5 ก็จะได้เป็น C Eb Gb
ต่อมาคอร์ด C aug เช่นกันดู Progression ก่อน คือ 1 3 #5 ก็จะได้เป็น C E G#
เท่านี้ล่ะนะครับ ลองไปสร้างกันดู พรุ่งนี้มาอธิบายถึง scale และ chord ต่อ สวัสดีครับ

ความลับของ Major and Minor Scale

C major scale ประกอบด้วย
C D E F G A B C
ลองดูที่ตัวที่ 6 ของ C major scale เห็นตัว A ใช่ไหมครับ ไมเนอร์สเกลนั้นเกิดจากตัวที่6
ของเมเจอร์สเกลที่เขาเอามาสร้างเป็นสเกล ก็ไล่ไปจ้ะ จะได้ดังนี้
A minor scale ประกอบด้วย
A B C D E F G A
ถ้าเราดูดีๆ2เสกลนี้ จะมีโน้ตเหมือนกันทุกตัวครับ ต่างกันที่ตัวเริ่ม และการจัดเรียงลำดับเท่านั้นเอง

ดังนั้น C major scale และ A minor scale จึงเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
เรา เลือกความสัมพันธ์นี้ว่า Relative หรือสเกลเครือญาติจ้ะ ดังนั้นเมื่อไล่เมเจอร์เสกลเราก็จะไล่ไมเนอร์สเกลไปด้วย ทีนี้เมื่อเราอยากรู้ว่าเมเจอร์สเกลในคีย์อื่นๆ Relative กับไมเนอร์คีย์ก็ไปดูที่ตัวที่6 ของคีย์จ้ะ เช่นคีย์ D major ก็จะได้ B minor เป็นต้นลองนับกันดู ดังนั้นเมื่อเรามันจึงเป็นคำตอบไงครับว่าเมื่อเราไล่เมเจอร์สเกลก็เหมือนไล่ ไมเนอร์สเกลไปด้วย หากจำไว้ก็จะช่วยลดเวลาในการไล่เสกลไปได้นิดหน่อย555555

Time Signature

เมื่อกันก่อนถึงเรื่องนี้ครับ
WHOLE NOTE = 4
HALF NOTE =2
QUARTER NOTE=1
EIGHT NOTE=1/2
SIXTEENTH NOTE=1/4
นี่ก็คือ ค่าโน๊ตพื้นฐานในอัตราจังหวะ 4 4 หรือ COMMON TIME นะครับ ไว้มาต่อกันนะครับ ขอบคุณครับ

วันนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับ TIME SIGNATURE ครับ
เริ่มกันเลย เวลาคุณดูโน้ต คุณก็จะสังเกตเห็นเลขที่อยู่บรรทัดแรกนะครับ ตัวอย่างคือ
2 2,4 4, 6 8,2 4,3 4 เป็นต้นนะครับ(เลขมันจะเป็นบนล่างคล้ายเศษส่วนนะครับ ตัวแรกคือตวบน ตัวสองคือตัวล่างครับ)
ตัวบน = จังหวะในเพลง เช่น 4 4 ก็แสดงว่า มี 4 จังหวะนะครับ
ตัวล่าง= เลขที่เป็นตัวแทนของ หนึ่งจังหวะ อย่าเพิ่งงงนะครับดูข้างล่างนี้ก่อน
WHOLE NOTE = 1
HALF NOTE =2
QUARTER NOTE=4
EIGHT NOTE=8
SIXTEENTH NOTE=16
ตัว เลขข้างบนเกิดมาจากอัตราจังหวะตามธรรมชาติของมันครับ(common time) ก็คือว่า WHOLE NOTE เป็นจังหวะที่มี 4 จังหวะ เราจะใช้ แทนด้วยเลข 1
ส่วนตัวอื่นนั้นอิงจาก WHOLE NOTE ทั้งสิ้น เช่น
HALF NOTE มี 2 จังหวะในตัวมันเอง ถ้าเทียบกับตัวกลมแล้ว HALF NOTE 2 ตัวจะเท่ากับ WHOLE NOTE ตัวนึง เช่นเดียวกัน
QUARTER NOTE มี 1 จังหวะในตัวมันเอง ถ้าเทียบกับตัวกลมแล้ว QUARTER NOTE 4 ตัวจะเท่ากับ WHOLE NOTE ตัวนึง เช่นเดียวกัน
นี่คือที่มาของเลขที่ผมอ้างอิงไว้นะครับ ต่อมามาว่าถึงเรื่องเลขตัวล่าง กันต่อที่แทนด้วย 1,2,4,8,16 เป็นต้น
สมมุติว่าเราเจอเพลงที่อัตราจังหวะเป็น 4 4 ก็จะมีค่าเท่ากับ
เรามอง เลขตัวหลังก่อน(จริงๆคือล่าง แต่พิมในนี้ไม่ได้ขออภัยครับ) เราก็จะเห็นเลข4 ก็เท่ากับโนต ตัวดำหรือ QUARTER NOTE นั่นเอง
ต่อ มาเราก็มองที่ เลขข้างหน้าคือ 4 มันก็จะมีความหมายว่า ให้เล่น 4 จังหวะ 4 หวังในที่นี้ คือให้เล่นตัวดำเป็น 1 จังหวะ ดังนั้น 4 จังหวะในห้องนี้ก็เท่ากับ มีตัวดำเป็น 1 จังหวะ
ดังนั้นต้องคัวดำ4ตัว จะได้ครบ 4 จังหวะ เข้าใจเปล่าครับ สมมุติอีกซักอันนะครับ
เอาเป็นจังหวะ 4 2 ละกัน เราก็วิเคราะห์ซะ ก็คือเรามอง เลขตัวหลังก่อนเราก็จะเห็นเลข 2ก็เท่ากับโนต ตัวขาวหรือ HALF NOTE นั่นเอง
ต่อ มาเราก็มองที่ เลขข้างหน้าคือ 4 มันก็จะมีความหมายว่า ให้เล่น 4จังหวะ 4 หวังในที่นี้ คือให้เล่นตัวขาวเป็น 1 จังหวะ ดังนั้น 4 จังหวะในห้องนี้ก็เท่ากับ มีตัวขาวเป็น 1 จังหวะ
ดังนั้นต้องเล่นคัวขาว4ตัว จะได้ครบ 4 จังหวะ เข้าใจเปล่าครับ

วิธีการเลือกซื้อกีตาร์สำหรับผู้เริ่มต้น

สวัสดีครับกระทู้นี้ผมเขียนจากความคิดและประสพการ์ณส่วนตัวล้วนๆนะครับ

ซึ่งเหมาะสำหรับน้องๆที่เริ่มต้นที่จะทำความรู้จักกับอุปกรณ์สุดมหัศจรรย์ที่เราเรียกว่า “กีตาร์”

ซึ่งในส่วนนี้ผมขอพูดถึงกีตาร์ไฟฟ้าแล้วกันนะครับ โดยจะกล่าวถึงการเลือกซื้อกีตาร์สักตัวมาใช้

โดยจะกล่าวรวมๆทั้งการเลือกซื้อกีตาร์ให่มและกีตาร์มือ2 ว่าการจะมีกีตาร์สักตัวใว้ใช้นั้นเราต้อง

ดูต้องเลือก และทำความเข้าใจอะไรกับมันบ้าง

ถ้าแบบกว้างๆก็คงมีประมาณนี้ก่อนนะครับ

1. รูปทรง ซึ่งมีมากมายเหลือเกิน ซึ่งในกีตาร์แต่ละทรงแต่ละแบบนั้นก็มักจะให้เอกลักษ์ของโทนเสียงต่างกัน

ไปแม้ จะไม่ใช่ทั้งหมดเพราะมีองค์ประกอบอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งรูปทรงแบบไหนดีสุดคงไม่มีคำตอบให้

ครับ เพราะบางทีมันก็อยู่ที่ความพอใจและความชอบของแต่ละบุคล

2. ยี่ห้อของกีตาร์ ซึ่งในสว่นนี้อาจมีความสำคัญสำหรับบางคนแต่อาจไม่ใช่สาระสำหรับบางคนเช่นกัน

ซึงถ้าเรามียี่ห้อที่ใช่อยู่ในใจแล้ว นั้นก็ทำให้เราสารถตีวงในการเลือกกีตาร์สักตัวมาคู่กายเราได้ง่ายขึ้น

แต่ถ้าท่านไม่ซีเรียสมากว่าต้องเป็นยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ท่านก็จะมีตัวเลือกที่มากมายเพิ่มขึ้นกับการหากีตาร์คู่ใจของ

ท่าน ซึ่งทั้ง2อย่างนี้ยืนอยู่บนพื้นฐานความพอใจของแต่ละบุคลครับ

3. งบประมาณ ซึ่งอันนี้ผมว่ามีความสำคัญมาก เพราะมันคือตัวกำหนดเลยว่าท่านจะสามารถมีตัวเลือกได้มาก

แค่ไหน ยิ่งงบมีมาทางเลือกของท่านก็จะมากขึ้น แต่นั้นก็ไม่ได้ความว่าเรามีงบประมาณจำกัดแปลว่าเราจะไม่มี

ตัวเลือกนะครับ ถ้าเรารู้จักที่จะเลือกอย่างใช้สติ และคุ้มค่าเงินทุกบาทที่จ่ายไป   วิธีการเลือกซื้อกีตาร์สำหรับผู้เริ่มต้นสวัสดีครับกระทู้นี้ผมเขียนจากความคิดและประสพการ์ณส่วนตัวล้วนๆนะครับ

ซึ่งเหมาะสำหรับน้องๆที่เริ่มต้นที่จะทำความรู้จักกับอุปกรณ์สุดมหัศจรรย์ที่เราเรียกว่า “กีตาร์”

ซึ่งในส่วนนี้ผมขอพูดถึงกีตาร์ไฟฟ้าแล้วกันนะครับ โดยจะกล่าวถึงการเลือกซื้อกีตาร์สักตัวมาใช้

โดยจะกล่าวรวมๆทั้งการเลือกซื้อกีตาร์ให่มและกีตาร์มือ2 ว่าการจะมีกีตาร์สักตัวใว้ใช้นั้นเราต้อง

ดูต้องเลือก และทำความเข้าใจอะไรกับมันบ้าง

แนวทางในการฝึกImprovisation

Improvisation Guide
1.กระจายโน๊ตในคอร์ดออกมา ไล่ไปทีละคอร์ดตามเพลงที่เราจะเล่น วิธีนี้จะทำให้เรารู้โน๊ตในคอร์ดทำให้เลือกโน๊ตตัวโดนๆได้ง่าย และเป็นตัวที่เราเรียกว่าการเล่น Inside หรือการเล่นในคีย์นั่นเอง

2.เลือก เสกลหลักที่ใช้กับคีย์เพลง เช่น Key Cmajor ก็เอา Cmajor มาใช้เป็นเสกลหลักในการ Improvisation มันก็จะเป็นการเล่น Inside หรือการเล่นในคีย์นั่นเอง ในระยะแรกๆของการฝึกควรใช้แค่1เสกลไปก่อน ไม่ควรใช้หลายสเกลเพราะจะสับสนได้

3. วางแผนการเล่นในแต่ละห้อง เช่นห้องที่1จะเล่นเสกลของคีย์เพลง ห้องที่2 จะใช้ apegio เป็นต้น การวางแผนจะทำให้เราเล่นไม่สะเปะสะปะ

4.เล่น เมโลดี้เป็นชุดหรือวลีสั้นๆ โดยสร้างจากเสกลของคีย์หลักในเพลงที่เล่น พยามเล่นเมโลดี้ที่เราสามารถร้องตามด้วยปากเปล่าได้ จะเป็นการดีกว่าเพราะจะลดความเป็นลูก lick ลง

5. หากจะใช้ลูก lick ให้ลองย้ายจาก position ที่ฝึกเดิม ไปใน position อื่น หรือย้ายไปในคีย์ที่เราจะเล่นเช่น ถ้าเราฝึกลูกลิคในคีย์ Am ลองเอาlickลูกนี้ไปเล่นอิมโพรไวส์ ในคีย์Em เป็นต้น การนำลูกlick มาต่อๆกันเพื่อโซโล่หรืออิมโพรไวส์ก็เป็นไอเดียนึงในตอนที่เรายังมีข้อมูล สะสมน้อย พยามนำลิคมาใช้แล้วคิดลูกที่จะเชื่อมต่อกันระหว่างlick ต่อlick

6.หา ลูกโซโล่ที่ง่ายๆลองเปลี่ยนตัวโน๊ตดู เริ่มจากตัวนึงแล้วค่อยๆเปลี่ยนเพิ่มจนไม่เหลือของเดิม หรือลองย้ายสัดส่วนของโน๊ตในลูกโซโล่เดิมนั้น เช่นถ้าตัวนึงเล่นที่ 1 จังหวะ เราก็อาจจะเปลี่ยนเป็น 2 หรือ 4 จังหวะ

7.ไม่จำเป็นต้องใช้ โน๊ตเยอะ โน๊ต1ตัวพยามดีดในหลายๆสัดส่วน เช่น 1 จังหวะดีด 1 ครั้งบ้าง 2ครั้งบ้าง สลับกันไปตามความพอใจแต่ขอให้อยู่ในจังหวะก็พอ

8.พยาม เล่นโน๊ตแค่เพียง3หรือ4สายติดกัน แล้วพยามย้ายไปเล่นในตำแหน่งอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการฟังดูเหมือนไล่สเกลขึ้นๆลงๆ และพยามอย่าเล่นแช่อยู่แค่ใน position เดียวนานๆ เพราะมันจะน่าเบื่อ ทั้งนี้ไม่มีอะไรตายตัวปรับเอาตามความเหมาะสม

9.การ improvise ที่ดีต้องฟังเครื่องดนตรีและจังหวะของคนอื่นด้วย พยามคิดแค่ตอนซ้อม ทำบ่อยๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปมันจะกลายเป็นสัญชาตญาณไปเองโดยอัตโนมัติ เวลาเล่นสดอย่าคิดมากเพราะมันจะเครียดและไม่สนุก

Diatonic Functioning Part 4.3 : Substitute Dominant (Tritone Sub)

https://i0.wp.com/www.rankopedia.com/CandidatePix/78432.gif

Diatonic Functioning

Part 4.3 : Substitute Dominant (Tritone Sub)

สวัสดีครับ มากันอีกแล้วกับDiatonic Functioning ในประเด็นของ”คอร์ดนอกคีย์” ที่หลายๆคนสงสัยว่า”เอ…มันมาไงหว่า”
ในคราวนี้ก็ยังคงอยู่ที่Dominant Chordแต่ในครั้งนี้ จะเป็นSecond Domที่ซับซ้อนในด้านของHarmonyมากขึ้น
เอาละมาลุยกันเลย

Tritone Substituteปรากฏให้เห็นในหน้าประวัติศาสตร์ดนตรีครั้งแรก(ยิ่งใหญ่จังฟระ)ในยุคของBebop(ประมาณ1940s)
และแน่นอนศาสดาBebopอย่างCharlie Parkerและคู่ซี้Dizzy Gillespieเป็นผู้บุกเบิกในครั้งนั้น

ขั้นคู่เสียงTritoneเป็นขั้นคู่ที่ปวกเปียก(Unstable)มากต่อการได้ยินของมนุษย์ เพราะลักษณะทางธรรมชาติของมันคือ
ต้องการที่จะส่งเข้าหาTargetตลอด หรือพูดง่ายๆก็คือ เสียงที่เกิดขึ้นนี้ไม่สามารถที่จะสร้างSoundที่มั่นคงได้หากนำมาใช้ทื่อๆ
ยิ่งถ้าใช้เป็นคอร์ดจบยิ่งไปกันใหญ่เลย คือฟังแล้วไม่จบตรงนั้นนั่นเอง
ลักษณะเด่นของเสียงคอร์ดDominantคือการมีขั้นคู่เสียงTritone(3เสียงเต็ม)
ที่เกิดขึ้นระหว่าง3rdและ7thของคอร์ดDominant

เข้าใจง่ายๆดังนี้ เช่น
จาก G7 ให้นับต่อไปอีก3เสียงเต็มG – A – B – C#หรือDb(3เสียงนะครับ ไม่ใช่คู่3 อย่าสับสนเน้อ)
จะได้ Db จากนั้นSpellให้เป็นDom7
จะได้ Db7 เสร็จแล้วครับ 55555+

ดังที่รู้กันว่าโน้ตที่สำคัญที่สุดในคอร์ด หรือImportance Chord Toneนั่นคือ3rd & 7thของคอร์ดนั่นเอง
ทีนี้ลองมาเช็คArpeggiosทั้งสองคอร์ดกันครับ
G7 : G – “B” – D – “F”
Db7: Db – “F” – Ab – “Cb(B)”
เห็นอะไรแล้วใช่มั้ยครับ Chord Toneยังอยู่กันครบเลยครับ(มีแอบมาเป็นEnharmonicนิดหน่อย อิอิ)

เมื่อคุณสมบัติของDominant Chord ขึ้นอยู่กับTritone
ซึ่งมีFunctionเป็นChord Tone : 3rd & 7th
และเมื่อพลิกกลับอย่างไรก้ตาม จะยังคงเป็นขั้นคู่Tritoneอยู่เสมอ
ดังนั้นRootที่เกิดขึ้นใหม่นี้ จึงสามารถสร้างคอร์ดใหม่ให้มีเสียงสมบูรณ์ได้

แต่!!!เดี๋ยวก่อน จะเอาไปใช้ยังไงล่ะเฟร้ยยยยยยย ไอ้LocalHero!!!!
แหมๆๆๆๆ กำลังจะอธิบายเพิ่มอยู่ ใจเย็นเย้นนนนนนนนใจเย็นๆ
มาว่ากันต่อเลยดีฝ่า อิอิ

Tritone Resolution(การดำเนินของTritone)
ลักษณะเด่นในการดำเนินDominant Chordคือการเคลื่อนที่ของ2เสียง
ที่เป็นคู่เสียงTritoneไปยัง1stและ3rdของ คอร์ดเป้าหมาย(Target Chord)
ดังนั้นRootของDominant Chordจึงเคลื่อนที่ต่ำลงเป็นขั้นคู่5Perfect
เช่น G7 ไปยัง Cmaj7
G7 : G(1st) – B(3rd) – D(5th) – F(7th)
Cmaj7 : C(1st) – E(3rd) – G(5th) – B(7th)
สังเกตุได้ว่า1stและ3rdเคลื่อนที่ต่ำลงเป็นคู่5Perfectดังที่กล่าวมาแล้ว
และสังเกตุ3rd(B) & 7th(F)ของคอร์ดG7มีลักษณะเป็นTritoneของกันและกันอยู่

และเมื่อคิดเป็นTritoneแล้ว ก็จะได้ผลดังตอนแรก(คีย์ C)
คือ G7 => Db7
เช่น //:Dm7/G7/Cmaj7/Cmaj7://
จะได้ //:Dm7/Db7/Cmaj7/Cmaj7://
สังเกตุแบบไม่ต้องคิดอะไรมากคือจากเดิมG7(V7)จะเคลื่อนที่ลงต่ำลงเป็นคู่หาเข้าหาCmaj7(Imaj7)
ตามธรรมเนียมของPrimary Dominantที่ยึดถือปฏิบัติ
แต่พอเป็นTritoneจะสังเกตุได้ว่าได้เปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ต่ำลงเป็นคู่2Minorแทน
ซึ่งจะว่าไปการเคลื่อนที่เป็นChromaticก็สมูธดีครับ

สัญลักษณ์ที่ใช้เรียกคือSubV7/?อ่านว่า “ซับไฟฟ์ ออฟ ?”
อ้อ! อย่าเอาไปปนกับV/?(five of … : Part 4.1)นะครับ คนละอันกัน
แต่!(เงื่อนไขเยอะจังฟระ)มันก็ดันเกี่ยวกันได้อีกครับ 5555+

จากPart 4.1(Primary & Secondary Dominant Chord)
ตัวอย่างเช่น(สมมุติว่าอยู่ในคีย์Cนะครับ)
//:D-7 G7/Cmaj7 A7/
/D-7 G7/E-7 A7://
เขียนเป็นFunctionจะได้เป็น
//: II- V7 / I V/II- /
/ II- V7 / III- V/II- ://
***ใครงงกลับไปPart 4.1นะครับ
http://www.guitarthai.com/lessonboard/question.asp?QID=546

เอามาTritone Subจะได้
ตัวอย่างเช่น(สมมุติว่าอยู่ในคีย์Cนะครับ)
//:D-7 Db7/Cmaj7 Eb7/
/D-7 Db7/E-7 Eb7://
เขียนเป็นFunctionจะได้เป็น(ขออณุญาติเขียนบันทัดละBarนะครับ)
//: II- subV7/I /
/ I subV/II- /
/ II- subV7/I /
/III- subV/II- ://

สิ่งที่ต้องทำนะครับคือ
1.คิดSecond Dominant(ตามPart 4.1)
2.คิดTritone Subเข้าไปอีกรอบ
3.วิเคราะห์ออกมาว่ามันSubV of อะไร
4.ในส่วนของChord Scaleก็คิดไม่ต่างจากตอนแล้วๆมาครับ งวดนี้ไม่พูดถึงละกัน
5.ถ้ามึนก็หยุดสักแป้บนึงแล้วไปกินน้ำกินท่าซะ 555+

โอ้ววววววววว ขนาดพิมพ์เองยังงงเลยครับ โฮ้ะๆๆๆๆ
ใครงงก็ถามไถ่กันได้เลยครับ เดี๋ยวเจาะเป็นเรื่องๆอีกทีละกันครับ

การบ้านครับ(คีย์Cนะครับ)
EX.จงวิเคราะห์Chord Progressionชุดนี้ ว่ามันมาจากไหนกันบ้าง
//: Cmaj7 Gb7 / Fmaj7 Eb7 /
/ Dm7 Ab7 / G7 Db7 ://

ในตอนหน้าจะเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกับตอนนี้แต่จะเป็นMinor Chordนะครับ
ใครเซ็งใครเบื่อDominant Chordเตรียมเลยครับ

เอาละครับ นี่อาจจะเป็นบทความที่ยาวที่สุดของผมละมั้งครับ ดังนั้นอาจจะมีมึนงงเองบ้าง ตกหล่นไปบ้าง
ยังไงๆรบกวนติชมกันเต็มที่เลยครับ ^_^

ด้วยความเคารพครับ
LocalHero

Diatonic Functioning Chord Scales (Modes) Part 4.2 : Deceptive Dominant Chord Scales

https://i0.wp.com/userserve-ak.last.fm/serve/_/29448049/Guthrie+Govan.jpg

Diatonic Functioning Chord Scales (Modes)

Part 4.2 : Deceptive Dominant Chord Scales

สวัสดีครับ มาเจอกันอีกแล้วครับ คราวนี้จะเป็นเรื่องต่อจากตอนที่แล้ว (ขออณุญาติขั้นเรื่องคอร์ดนอกคีย์ก่อนนะครับ)
เพราะว่าเดี๋ยวจะหาว่า “หัวกระทู้มันChord Scaleอ่า ไม่เห็นจะเกี่ยวกะScaleเลยไอ้LocalHero!!!!”
ใจเย็นๆครับคุณพี่…ได้เกี่ยวกันจนได้แล้วครับ มาเริ่มกันเลยดีฝ่า ^_^

ขอเสริมตอนที่แล้วนิดนึงนะครับ พวกSecondary Dominantเหล่านี้จัดเป็นDeceptive Dominant(Dom’หลอก)ครับ
หรือก็คือDominant Chordที่ไม่แท้นั่นเอง
คอร์ด สเกลที่ใช้กับSecond Dom(ขออณุญาติเขียนอย่างนี้ละกันนะครับ อิอิ)หรือ คอร์ดดอมิแนนท์ลำดับสอง มีผลต่อการดำเนินคอร์ดแบบไดอาโทนิค
(Diatonic Resolution)ของตัวมันเอง ซึ่งปกติคอร์ดSecond Domมักจะดำเนินต่ำลงขั้นคู่5 Perfect
ไปยังDiatonic Chordในคีย์เดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วคอร์ดสเกลที่เหมาะสมจะประกอบด้วยDiatonic Note
โดยจำเป็นจะต้องปรับโน้ตบางตัวที่เป็นChord Toneของคอร์ดDominant ผลที่ได้ทำให้คอร์ดสเกลสำหรับคอร์ดDominant
คือ”Mixolydian”ที่มีโน้ตขั้นที่4ของสเกลเป็นAvoid Noteซึ่งเป็นRootของChordต่อไปในการดำเนินตามปกติ

ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องของใครของมันแล้วนะครับ ว่าจะจำไปใช้ได้อย่างไร
เพราะผมเองก็ไม่ค่อยจำเหมือนกันใช้ค่อยๆคิดเอาครับ ช้าแต่ชัวร์ 5555+

V7/IV ใช้ Mixolydian
โน้ตในขั้นที่4เป็นAvoid Note(Rootของคอร์ดต่อไป)
เช่น ในคีย์C
V7/IV : C7 (ของFmaj7 : IV)
C Mixolydian : C – D – E – F – G – A – Bb – (C)
โครงสร้าง : 1 – 9 – 3 – s4 – 5 – 13 – b7 – (1)

V7/V ใช้ Mixolydian
โน้ตในขั้นที่4เป็นAvoid Note
เช่น ในคีย์C
V7/V : D7 (ของG7 : V)
D Mixolydian : D – E – F# – G – A – B – C – (D)
โครงสร้าง : 1 – 9 – 3 – s4 – 5 – 13 – b7 – (1)

V7/II ใช้Mixolydian b13
โน้ตในขั้นที่4เป็นAvoid Note
และมีConditional Avoid Note(โน้ตอวอยด์แบบมีเงื่อนไข)สองตัว
คือ คอร์ดโทน5th และ Tension b13 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของTensionที่สูงกว่าคอร์ดโทนครึ่งเสียง(ใครงงกลับไปอ่านตอนAvoid Note)
อย่างไรก็ดี ในด้านการประสานเสียงเค้าไม่นิยมใช้ไอ้สองตัวนี้พร้อมกันอยู่แล้วครับ
ดังนั้นทั้งสองตัวนี้จึงเป็นAvoid Noteที่มีข้อจำกัดหรือเงื่อนไข(Condition)ในการใช้ครับ
***ตรงนี้ผมเองยอมรับว่า ไม่ค่อยสนใจครับดูความเหมาะสม กับความพอใจอย่างเดียวครับ 5555+
เช่น ในคีย์C
V7/II : A7 (ของDm7 : II)
A Mixolydian b13 : A – B – C# – D – E – F – G – (A)
โครงสร้าง : 1 – 9 – 3 – s4 – 5 – b13 – b7 – (1)

V7/III ใช้Mixolydian b9,(#9),b13
โน้ตในขั้นที่4เป็นAvoid Note
และมีConditional Avoid Note(โน้ตอวอยด์แบบมีเงื่อนไข)สองตัว
คือ คอร์ดโทน5th และ Tension b13(บอกว่าเหมือนอันข้างบนก็จบแล้ว 555+)
เช่น ในคีย์C
V7/III : B7 (ของEm7 : III)
B Mixolydian b9,(#9),b13 : B – C# – D# – E – F# – Gb – A – (B)
โครงสร้าง : 1 – b9 – 3 – s4 – 5 – b13 – b7 – (1)
***#9 เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ครับ ตามความเหมาะสม

V7/VI ใช้Mixolydian b9,(#9),b13
โน้ตในขั้นที่4เป็นAvoid Note
และมีConditional Avoid Note(โน้ตอวอยด์แบบมีเงื่อนไข)สองตัว
คือ คอร์ดโทน5th และ Tension b13(เหมือนอันข้างบนอีกแล้ว 555+)
เช่น ในคีย์C
V7/VI : E7 (ของAm7 : VI)
E Mixolydian b9,(#9),b13 : E – F – G# – A – B – C – D – (E)
โครงสร้าง : 1 – b9 – 3 – s4 – 5 – b13 – b7 – (1)
***#9 เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ครับ ตามความเหมาะสม

Diatonic Functioning Chord Scales (Modes) Part 4 : คอร์ดนอกคีย์มันมาได้ยังไงหว่า ???? ตอน1

https://i0.wp.com/24.media.tumblr.com/tumblr_m55kipfSmn1r8v6vso1_500.jpg

Diatonic Functioning Chord Scales (Modes)

Part 4 : คอร์ดนอกคีย์มันมาได้ยังไงหว่า ???? ตอน1

4.1 Primary & Secondary Dominant Chord

ตามคำขอครับ งวดนี้อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับหัวกระทู้นัก(แต่เดี๋ยวเอามารวมกันจนได้น่า อิอิ)
ในตอนนี้จะเกี่ยวกับคอร์ดนอกคีย์ ที่ประเภทว่า
“ผมก็รู้จักDiatonic Chordหมดแล้วนะฮ้าบ แต่ทำไมเพลงนี้มันมีคอร์ดที่ไม่มีในคีย์มาด้วยละฮ้าบ???”(‘ไมมือกีตาร์คิกขุจังฟระ)
อืม….ยังไงกันละทีนี้ เอาเป็นว่ามาเริ่มอย่างนี้ละกันนะ
อ้อ! ขออณุญาติ อ้างอิงทฤษฎีJazzนะครับ ใครงงตรงไหน”ทฤษฎีรายวัน”ของเป๋ารอท่านอยู่ที่Lessonboardครับ

ครับผม ตลกมาพอแล้ว วันนี้เริ่มต้นด้วยPrimary & Secondary Dominant Chordกันครับ
โดยปกติแล้วDominantแปลว่า บุก,รุก,พุ่ง เป็นนัยว่าพุ่งเข้าหาคอร์ดเป้าหมาย(I)

Primary Dominant คืออะไร มันก็คือ คอร์ดDom7หลักๆ ที่มีอยู่ในคีย์นั้นๆจริงๆ
ซึ่งโดยธรรมชาติจะเป็นคอร์ดในลำดับที่5ของDiatonic
มีหน้าที่ส่งเข้าหา(Resolutions)Imaj7 ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติครับ
เช่น ในคีย์ C ก็จะได้เป็น G7เป๊ะๆ อันนี้ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด ปัญหาจริงอยู่ที่ไอ้เจ้านี่ครับ…

Secondary Dominant(Dominant รอง หรือ อันดับสอง)
เอาแบบเข้าใจง่ายๆก็คือ Dom7ใดๆ ที่ไม่ได้มีอยู่ในคีย์นั้นๆ โดยจะปรากฏในลักษณะSubtitute Chord(คอร์ดแทน)
ทำหน้าที่เป็นV7เพื่อส่งเข้าหาคอร์ด(Resolutions)ต้นของมันอยู่เหมือนPrimary Dominantปกติ
เพียงแต่คราวนี้ไม่ใช่Imaj7ครับ(เป็นคอร์ดอื่นที่เหลือในคีย์นั่นแหละ 555+)

ตัวอย่างเช่น(สมมุติว่าอยู่ในคีย์Cนะครับ)
//:D-7 G7/Cmaj7 A7/
/D-7 G7/E-7 A7://
เขียนเป็นFunctionจะได้เป็น
//: II- V7 / I V/II- /
/ II- V7 / III- V/II- ://

จะสังเกตุว่า ตรงA7มันควรจะเป็นA-7(VI-)มากกว่าใช่มั้ยครับ ตามDegreeของมัน
เหตุผลก็คือ ต้องการให้A7นี้Resolutions(ส่งเข้าหา)D-7ซึ่งเป็นII-7ของคีย์C
อาจกล่าวได้ว่า เป็นV7/II(อ่านว่าFive of Two : คอร์ดVของII)
สังเกตุว่า จะดำเนินเป็นคู่5(Perfect)ของคอร์ดต้นของมัน ในกรณีนี้ A(7) เป็นคู่5ของD(-7)

หรือ(สมมุติในคีย์Cอีกแล้ว 5555+)
/C7 /Fmaj7// ก็หมายถึง V/IV(เห็นเป็นMajor7 Chordก็จริงแต่อย่าสับสนนะครับ อันนี้เป็นIVmajor7เน้อ ^_^)
/D7 / G7 // ก็หมายถึง V/V7
/B7 / E-7 //ก็หมายถึง V/III
เห็นภาพแล้วใช่มั้ยครับ?

คราวนี้มาแบบสั้นๆนะครับ เพราะเดี๋ยวจะสับสน เอาแค่พอหอมปากหอมคอก่อนละกันครับ
หลายคนอาจจะสังเกตุว่า ทำไมผมถึงพูดถึงแต่Dominant 7 Chordตลอดเลย
ในความคิดเห็นของผมคือ คอร์ดDom7มีความพิเศษคือ สามารถพลิกแพลงได้หลากหลาย
เป็นต้นกำเนิดของการSubtitute Chordได้มากมาย ในตอนต่อๆไปจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆนะครับ

สิ่งที่ต้องทำครับ
1.ศึกษาว่าในคีย์หนึ่งๆเนี่ย มันมีโน้ตอะไรบ้าง
2.สร้างDiatonic Chordอะไรบ้าง
เพื่อที่จะเห็นภาพว่า อะไรมันแปลกปลอมเข้ามา
3.ศึกษาArpeggiosในแต่ละคอร์ด/ชนิดให้เข้าใจ

จริงๆแล้ว รายละเอียดยังมีอีกมาก เช่นSub Domเหล่านี้ใช้กับChord Scaleอะไร
เดี๋ยวเรามาเจาะกันอีกทีๆละเรื่องละกันครับ จะได้ไม่งงมาก
ฝากติดตามด้วยครับ

ผิดพลาดอย่างไรขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ด้วยความเคารพครับ
LocalHero

Diatonic Functioning Chord Scales (Modes) Part 3 : ใช้Modeยังไงให้โดน?!!?!?!?!

https://i0.wp.com/www.guitarontheedge.co.uk/images/modern_guitar/guthrie_govan_1.jpg

Diatonic Functioning Chord Scales (Modes)

Part 3 : ใช้Modeยังไงให้โดน?!!?!?!?!

สวัสดี ครับ มารกบอร์ดรกสมองกันอีกแล้ว กับLocalHeroเจ้าเก่า 555+(จะเฮฮาไปไหนเนี่ย)หลังจากคราวก่อนติดค้างเรื่องการใช้Chord Scaleแล้วหน้ามึนเอาAvoid Noteมาให้มึนงงกันวันนี้ได้เวลาแล้วครับ ไปลุยกันเลย จุ๊กกรู้ววววววววววววว!!!!!!!!!!(ฮาเฮมากมาย)

ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนนะครับว่า ที่จะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเรื่องเชิงวิชาการนะครับ จะค่อนข้างต่างจากเวลาที่เราๆท่านๆใช้จริง
คือ จะค่อนข้างซับซ้อน และเหมาะสำหรับการเขียนเรียบเสียงประสาน Composeเพลงต่างๆมากกว่าซึ่งถ้าฝึกตามนี้อย่างเป็นระบบก็สามารถใช้ในสถานการ จริงได้ครับ

ตามที่เคยได้รู้กันมา คือ Diatonicใดๆ ก็ใช้Modeที่ตรงกับDiatonicนั้นๆ จบ!!!!
เฮ้ย!!!!จะบ้าเหรอ มักง่ายไปแแล้ว!!! จริงอยู่ครับ นั่นคือวิธีปฏิบัติที่ใครๆก็รู้กัน และไม่ผิดด้วยครับ เล่นมันตรงๆนั่นแหละ
แต่ ในบางสถานการ เช่น ไม่ได้แจมRockเหมือนอย่างเคย หรือต้องแจมกับชาวJazzชาวBluesซึงเป็นที่รู้กันว่ามนุษย์กลุ่มนี้นิยมการ เล่นกับHarmonyกันเป็นบ้าเป็นหลัง ซวยละสิครับ ทำยังไงล่ะ? โดยเฉพาะกับJazzยิ่งโคม่าเลย
เอาล่ะ! มาดูซิว่ามีไอเดียอะไรบ้าง
สมมุติสถานการณ์ ต้องแจมบนเพลงFly me to the Moonในคีย์Amละกันครับ(ขอยกมาแค่ท่อนแรกนะครับ)

// Am7 / Dm7 / G7 /Cmaj7 (C7)/
/ Fmaj7 / Bm7b5 / E7 /Am7 (A7)/
/ Dm7 / G7 / Cmaj7 /Em7 A7/
/ Dm7 / G7 / Cmaj7 /Bm7b5 E7//

1.ก่อนอื่นอยากให้ทุกท่านSpellสเกลAmลงในกระดาษก่อนครับ จะเป็นโน้ตหรืออักษรก็แล้วแต่ถนัด(ออกแนวสอบข้อเขียน 555+)
จะได้ดังนี้ Am Scale: A – B ^ C – D – E ^ F – G – (A)

2.ลองสำรวจดูก่อนว่ามีอะไรผิดปกติ จากสิ่งที่ควรจะเป็นมั้ยครับ เช่น คอร์ดที่ไม่น่าจะอยู่ในคีย์Am
เอาล่ะ ผมเจอแล้ว 3คอร์ด คือC7,E7,A7 อันนี้แยกไว้ก่อนครับ เดี๋ยวมาจัดการกันทีหลัง

3.ลองSpellสเกล ที่เหลือครับ จะเห็นว่าล้วนเป็นDiatonicของคีย์Amทั้งสิ้น(ยกเว้นคอร์ดในข้อ2)
ก็ตามสูตรดั้งเดิมเลยครับ Diatonic Chordใด ตรงกับDiatonic Chord Scaleใดก็ว่ากันไป

4.กลับมาดูไอ้คอร์ดประหลาดทั้ง3ครับ ยกตัวอย่างC7ละกันครับ ง่ายดี
*ให้เราเขียน Arpegioของมันออกมาก่อนครับ จะได้เป็น
C7 : C – E – G – Bb
*เติมโน้ตในคีย์หลัก ซึ่งในที่นี้คือ Am : A – B ^ C – D – E ^ F – G – (A)
ขาดอะไรก็เติมเข้าไปครับ ก็จะได้เป็น
C7 : C – D – E ^ F – G – A ^ Bb – (C)
เริ่มเห็นอะไรแล้วใช่มั้ยครับ มี”b”เดียวอย่างนี้มัน Fmaj Scaleนี่นา
แต่สิ่งที่เราได้มาคือModeที่5ของFmaj Scaleหรือ”Mixolydian”นี่เอง
หลายคนอาจจะ โอ้ยยยยยยยยยย ใครๆเค้าก็รู้ เห็นDom7 ก็ใช้Mixoไง!!! อย่ามาทำให้ยุ่งยากดีฝ่า!!!

แหม…ใจเย็นๆครับ มาดูคอร์ดE7กันบ้าง ดูซิว่าจะได้ผลอย่างไร(ทำเหมือนเมื่อกี้เลยครับ)
E7 : E – G# – B – D
E7 : E ^ F -^- G# ^ A – B ^ C – D – (E)
เย๊ยยยยยยยย Scale ไรฟระเนี่ย????? ‘ไมมันไม่ใช่Mixolydianที่คุ้นเคยล่ะ!!!!
นั่นไงครับ…ไปได้Chord Scaleอะไรมาก็ไม่รู้ 5555+
มันคือE Spainish Phrygian ModeหรือModeที่5ของA Harmonic Minorนี่เอง

ลองมาดูA7กันบ้าง จะได้เข้าใจมากขึ้นครับ
A7 : A – C# – E – G
A7 : A – B – C# ^ D – E ^ F – G – (A)
ก็จะได้เป็นA Mixolydian b13 ซึ่งเป็นModeที่5ของD Melodic Minorครับ

พอจะเห็นภาพแล้วใช่มั้ยครับ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ว่า โอ้ย!!!เห็นDominant7แล้วซัดMixoไปเลยไม่ต้องคิดมาก
ถามว่ายังทำแบบนั้นได้อยู่มั้ย? ยังได้อยู่เหมือนเดิมครับ(นี่ยังไม่ได้นับModeอื่นนะครับ)
เพียงสิ่งที่ผมนำเสนอในครั้งนี้ จะเป็นการคงไว้ซึ่งCommon toneของตัวเพลงได้แนบเนียนกว่าครับ
เพราะใช้โน้ตในTonality Keyเป็นตัวเชื่อมการChange Keyเข้าด้วยกัน

***การบ้านครับ (มีสั่งด้วย 555+)***
เป็นChord Progressionของเพลง”Satin Doll”ครับ
(อยู่ในคีย์Cนะครับ Formเพลงเป็น AABAครับ)

ท่อนA1
/D-7 G7/D-7 G7/E-7 A7/E-7 A7/
/A-7 D7/Ab7 Db7/Cmaj7/E-7b5 A7b9//
ท่อนA2
D-7 G7/D-7 G7/E-7 A7/E-7 A7/
/A-7 D7/Ab7 Db7/C D-7/D#o E-7//
ท่อนB
/G-7 D7/G-7 D7/Fmaj7/G-7 D7/
/A-7 D7/A-7 D7/E-7 A7/D-7 G7//
ท่อนA3
/D-7 G7/D-7 G7/E-7 A7/E-7 A7/
/A-7 D7/Ab7 Db7/Cmaj7/(E-7b5 A7b9)//

ลองทำดูครับ ตามวิธีการข้างต้นเลย ได้ผลอย่างไร ลองเช็คดูครับ ^_^
อ้อ! ท่อนA1-3มันก็คล้ายๆกันนั่นแหละครับ อยากให้ดูที่ท่อนBมากกว่าครับ

ผมอยากให้สังเกตุว่า ทุกสิ่งอย่างที่ผมว่ามาจะอ้างอิง Scale & Arpegioเป็นหลัก ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานทั้งนั้นเลยครับ
จึงอยากกระตุ้นเตือน ให้หันมาศึกษาและทดลองกันให้มากๆครับ เพื่อเป็นการสานต่อจินตนาการดนตรีของตัวท่านเองครับ
ลองถามตัวเองดูครับว่าเราOKแล้วหรือยัง อย่างเรื่องScaleชนิดต่างๆ
ซึ่งอย่างในครั้งนี้ มีการอ้างอิงถึงMelodic & Harmonic Minorกันเลยทีเดียว

ดังนั้น อยากเล่นได้มันก็ต้องฝึกต้องศึกษาครับ ฝากไว้สำหรับน้องๆที่กำลังตามฝันของตัวเองครับ
ในครั้งนี้คงมีเพียงเท่านี้ครับ แล้วพบกันในตอนหน้าครับ จะเป็นเรื่องอะไรฝากติดตามละกันครับ
ผิดพลาดอย่างไรขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ น้อมรับคำติชมครับ

ด้วยความเคารพครับ
LocalHero